โคเออร์และกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลก

   วันผู้ลี้ภัยโลกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544 เพื่อระลึกถึงผู้คนที่มีความจำเป็นต้องละทิ้งถิ่นฐานหนีภัยจากการสู้รบในมาตุภูมิและมีความกล้าที่จะต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้อยู่รอดและปลอดภัยในฐานะผู้ลี้ภัย ซึ่งโคเออร์ได้มีส่วนในการจัดกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลก ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ทั้ง 9 แห่งเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้โคเออร์ใช้แนวทางรณรงค์เช่นเดียวกับของหน่วยงานสหประชาชาติตั้งขึ้นคือ “ร่วมดูแลผู้ลี้ภัย” สำหรับกิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านอุ้มเปี้ยม นอกจากโคเออร์ได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ระลึกถึงความสำคัญของวันผู้ลี้ภัยแล้ว ยังได้เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมโดยเน้นจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

   ดังนั้น โคเออร์จึงสนับสนุนเยาวชนผู้ลี้ภัยช่วยกันประดิษฐ์เครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้ นำมาจัดโครงการแฟชั่นโชว์รีไซเคิ่ล แสดงถึงการนำสิ่งของใช้แล้วมาดัดแปลงให้กลับมาใช้ได้อีก เป็นการประหยัดไม่ต้องซื้อใหม่ มีเยาวชนร่วมเดินแฟชั่นโชว์ 14 คน โดยได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานครั้งนี้ 300 คน นอกจากนี้ ยังมีเด็กและเยาวชนจำนวน 120 คน ที่พร้อมใจกันออกเดินรณรงค์เก็บขยะตามพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ชุมชนถูกสุขอนามัยและน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย

   โคเออร์ร่วมจัดงานวันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านแม่หละ ซึ่งเป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ที่ใหญ่ที่สุดในจำนวนพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่งในประเทศไทย โดยชูคำขวัญรณรงค์ในปีนี้ว่า “ร่วมดูแลผู้ลี้ภัย” มีผู้เข้าร่วมงานวันผู้ลี้ภัยโลกทั้งหมดประมาณ 700 คน ภายในงานมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม จากนั้นเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ภายในชุมชน

กิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านนุโพ มีผู้ลี้ภัยเข้าร่วมงาน ชมกิจกรรมที่มีหลากหลาย จำนวนประมาณ 300 คน

   กิจกรรมวันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านแม่ลามาหลวงและแม่ละอูน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ลี้ภัยหลายร้อยคน เข้าร่วมกิจกรรมรื่นเริงตลอดจนฟังสุนทรพจน์ให้กำลังใจผู้ลี้ภัยให้ดำเนินชีวิตไปอย่างดีไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์อย่างไรของชีวิต

   โคเออร์ราชบุรีร่วมจัดงานวันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน และที่บ้านต้นยาง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562

วันผู้ลี้ภัยโลกที่บ้านใหม่ในสอย และ บ้านแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งกิจกรรมเชิง วัฒนธรรมของชาติพันธุ์และกิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้โดยผู้แทนหน่วยงานต่างๆ